การส่งต้นฉบับบทความผ่านทางระบบ THAIJO
เป้าหมายและขอบเขต
วารสารวิเทศศึกษา (ISSN 2228-8864) เป็นวารสารวิชาการระดับชาติ 2 ภาษา (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) ราย 6 เดือน (2 ฉบับต่อปี) ทุกบทความได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer reviewed) จัดทำและเผยแพร่โดยคณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ในสาขาสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและการจัดการ
กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่
- 2 ฉบับต่อปี
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน
ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม
การรับต้นฉบับบทความ
-
ตลอดทั้งปี
การส่งต้นฉบับบทความ
1. การเตรียมต้นฉบับ
1.1 การเขียนบทความ
1) เป็นบทความภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ในสาขาสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและการจัดการที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2) พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK
3) ต้นฉบับบทความมีความยาวระหว่าง 15-30 หน้ากระดาษ A5
4) บทคัดย่อภาษาไทยภาษาอังกฤษ และภาษาจีน มีความยาวไม่เกิน 150-200 คำโดยระบุชื่อบทความ ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนทุกคน และคำสำคัญไม่เกิน 5 คำ
5) ในส่วนชื่อ-นามสกุลผู้เขียน ให้อ้างอิงวุฒิการศึกษาขั้นสูงสุดตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) สถานที่ทำงาน/หน่วยงาน และ E-mail
1.2 การตั้งค่าหน้ากระดาษ
1) ขนาดกระดาษ A5
2) ระยะบรรทัด 1 เท่า (Single space)
3) ระยะขอบกระดาษบนล่างและซ้ายขวา 2.54 ซม.
1.3 รูปแบบตัวอักษร
ภาษาอังกฤษและภาษาไทยใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ดังนี้ี้
ส่วนประกอบบทความ |
ลักษณะตัวอักษร |
รูปแบบการพิมพ์ |
ขนาดตัวอักษร |
ชื่อบทความ |
เน้น |
กลางหน้ากระดาษ |
18 |
ชื่อผู้แต่ง |
เน้น เอน |
ชิดขวา |
16 |
บทคัดย่อ |
เน้น |
ชิดซ้าย |
16 |
คำสำคัญ |
เน้น |
ชิดซ้าย |
16 |
หัวข้อแบ่งตอน |
เน้น |
ชิดซ้าย |
16 |
หัวข้อย่อย |
เน้น |
ใช้หมายเลข |
16 |
เนื้อหาบทความ |
ปกติ |
- |
16 |
การเน้นความในบทความ |
เน้น |
- |
16 |
ข้อความในตาราง |
ปกติ |
- |
14 |
ข้อความอ้างอิง |
ปกติ |
- |
14 |
เอกสารอ้างอิง |
เน้น |
ชิดซ้าย |
16 |
ภาพที่ |
ปกติ |
ชิดซ้าย |
14 |
1.4 การเขียนอ้างอิง
1.4.1 การอ้างอิงในเนื้อหาใช้แบบนาม-ปี (author-date in-text citation) โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ของเอกสารไว้ส่วนหน้าข้อความที่ต้องการอ้างอิง และอาจระบุเลขหน้าของเอกสารที่อ้างอิงด้วยก็ได้หากต้องการ
ตัวอย่างเช่น ... ปรานีประเสริฐสิน (2555, น. 147) … ... ปรานีประเสริฐสิน (2555, หน้า 147-148) … |
1.4.2 การอ้างอิงท้ายบทความ ใช้แบบ APA (American Psychological Association) และเรียงตามลำดับตัวอักษร โดยบทความภาษาไทยใช้คำว่า "เอกสารอ้างอิง" ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ก) หนังสือหรือตำรา
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่างสำหรับผู้เขียน 1 คน เช่น
ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. (2547). ไทยในมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ. |
ตัวอย่างสำหรับผู้เขียน 2 คน เช่น
ไพรัช ธัชยพงษ์ และ กฤษณะ ช่างกล่อม. (2541). งานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา. |
ตัวอย่างสำหรับผู้เขียน 3 คนขึ้นไป เช่น
ศุภมิตร เมฆฉาย, พัชรินทร์ ครุฑเมือง, อัญชลี วงษา, เทิดชัย เวียรศิลป์, และเกรียง ศักดิ์ เม่งอำพัน. (2548). การจำแนกเพศปลาบึกด้วยเครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ. เชียงใหม่: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. |
ข) วารสาร
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), หน้า–หน้า.
ตัวอย่างเช่น
ชำนิ กิ่งแก้ว และอุษา คะเณ. (2551). การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์, วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 1 (2), 27-35. |
ค) วิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัย.
ตัวอย่างเช่น
พรพิมล เฉลิมพลานุภาพ. (2535). พฤติกรรมการแสวงหาข่าวสารและการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของบริษัทธุรกิจเอกชนที่มียอดขายสูงสุดของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. |
ง) ข้อมูลออนไลน์
ชื่อผู้แต่ง. (ปี). ชื่อเรื่อง. ค้นเมื่อ [วัน เดือน ปี] จาก แหล่งสารสนเทศ. [หรือชื่อเว็บไซต์]
ตัวอย่างเช่น
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2552). การลงรายการบรรณานุกรมตามกฎ APA Style. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2552 จาก http://www.human.cmu.ac.th/~lib/documents/Bliography.pdf. |
2. การส่งต้นฉบับ
ส่งต้นฉบับบทความได้ตลอดทั้งปี ทาง “E-mail” ถึง กองบรรณาธิการวารสารวิเทศศึกษา ในรูปแบบไฟล์ .docx และ .pdf มาที่
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
3. การพิจารณาต้นฉบับ
1) กองบรรณาธิการพิจารณาเบื้องต้น
2) ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ เป็นผู้อ่านและประเมินคุณภาพทางวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความ